สายช่วยชีวิต เป็นองค์ประกอบหลัก ที่ใช้สำหรับเป็นจุดยึดเกี่ยว และการเชื่อมต่อระหว่างจุดยึดเกี่ยว ของเชือกนิรภัย และสายนิรภัยชนิดเต็มตัว ของระบบยับยั้ง การตกส่วนบุคคลเข้าด้วยกันสายช่วยชีวิต เป็นอุปกรณ์ ที่ออกแบบ มาเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเคลื่อนที่ไป – มา ตามทิศทาง และระยะทาง ที่ได้ออกแบบ ไว้ทั้งแนวดิ่ง และแนวราบ โดยที่ไม่จำเป็น ต้องปลดห่วงเกี่ยวนิรภัย ในขณะเคลื่อนที่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในระหว่างปฏิบัติงาน บนที่สูง เช่น บนหลังคา โครงสร้าง ช่องเปิด เป็นต้น
การทำงานบนที่สูง เช่น งานก่อสร้าง งานทำความสะอาด งานไฟฟ้า มีความจำเป็นอย่างมาก ที่ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกัน การตกจากที่สูง อุปกรณ์หลักอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญ ไม่น้อยไปกว่า เข็มขัดนิรภัย แบบเต็มตัวเลย นั่นคือ “สายช่วยชีวิตหรือ Lanyard” นั่นเอง ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า การตรวจสอบและบำรุงรักษาสายช่วยชีวิตนั้นจะสามารถทำได้อย่างไร
คือ การปฏิบัติงานใด ๆ ก็ตามในบริเวณที่มีความต่างระดับ ของพื้นที่ทำงาน และมีโอกาสที่บุคคล หรือวัสดุจะตกจากที่สูงจากระดับหนึ่ง สู่ระดับที่ต่ำกว่า เช่น บ่อ หลุม ช่องเปิด หลังคา บริเวณที่มีทางขึ้น – ลง หรือบันได บริเวณลาดชัน พื้นที่สูง ที่มีพื้นผิวไม่แข็งแรงมั่นคง หรือลื่น
การยับยั้งการตกจากที่สูง เป็นมาตรการลดความรุนแรง ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน จากการตกจากที่สูง โดยใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยจากการตกจากที่สูงในระบบ Active Fall Protection ในบทความนี้ มีสาระสำคัญ กล่าวถึงระบบยับยั้งการตกส่วนบุคคล (Personal Fall Alrest System) การใช้งานระบบยับยั้งการตกส่วนบุคคล อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย จากการตกจากที่สูง พร้อมอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
การใช้สายช่วยชีวิต ในการยับยั้งการตกจากที่สูง จะต้องใช้สายช่วยชีวิตที่ออกแบบมา เป็นโครงข่ายที่ใช้งาน อย่างเป็นระบบ โดยใช้ร่วมกับ อุปกรณ์ยับยั้งการตกจากที่สูง เรียกว่า ระบบสายช่วยชีวิต (Lifeline System) อย่างน้อยประกอบด้วย
ตรวจสภาพสายช่วยชีวิต ทั้งก่อนใช้งาน และ หลังใช้งาน เพื่อให้อยู่ในสภาพ สมบูรณ์ พร้อมใช้งาน ทุกครั้ง เช่น ไม่มีสภาพฉีก ขาด แตก การกัดกร่อนของ สารเคมี รอยไหม้ หรือ สกปรกมาก จนไม่สามารถทำความสะอาดได้ เป็นต้น หากพบว่ามีการชำรุด ห้ามนำกลับมาใช้งาน
ตรวจสอบ สภาพสายช่วยชีวิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดย ผู้มีความรู้ ความสามารถ พร้อมทั้งมีการตรวจสอบ ส่วนประกอบสายช่วยชีวิต หรือ อุปกรณ์ดูดซับแรง อย่างละเอียด หลังจากเก็บไว็เป็นเวลานาน
การทำความสะอาดสายช่วยชีวิต ให้ใช้น้ำ หรือ น้ำยาซักผ้าชนิดอ่อน ๆ แล้วแขวนไว้ให้แห้ง อย่าให้สัมผัสกับ ความร้อน หรือ แสงแดด โดยตรง ในกรณีที่ สายช่วยชีวิตสกปรกเล็กน้อย ให้ทำความสะอาด ด้วยผ้าแห้ง หรือ ผ้าหมาด
ควรเก็บ และ ดูแลรักษาสายช่วยชีวิต ที่ทำจาก เส้นใยสังเคราะห์ ไม่ให้ไป สัมผัส กับ แสงแดด โดยตรง เนื่องจาก หากถูกรังสี อัลตราไวโอเลต จากแสงแดด เป็นเวลานานสายช่วยชีวิตอาจถูกทำลาย หรือ มีระยะเวลาการใช้งานลดลง
สายช่วยชีวิตควรเก็บแยกในพื้นที่เก็บ ซึ่งมีอุณภูมิปกติ แยกเก็บในชั้น ไม่ควรนำสายช่วยชีวิต เก็บรวมกับวัสดุ ที่มีอันตราย เช่น วัสดุมีคม สารเคมี หรือ น้ำมัน เป็นต้น
อันตรายจากการใช้สายช่วยชีวิต
อันตรายจากการใช้สายช่วยชีวิต ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรง และเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ที่ไม่ถูกต้อง และเหมาะสม เช่น
1) สายช่วยชีวิต ไม่ได้มาตรฐาน และไม่เหมาะสม
2) การติดตั้งสายช่วยชีวิต ไม่เป็นไป ตามข้อกำหนด ของผู้ผลิต หรือผู้ออกแบบ
3 สายช่วยชีวิตที่นำมาใช้ ไม่เหมาะสม กับลักษณะงาน หรือไม่ถูกประเภทการใช้งาน
4) สายช่วยชีวิตมีสภาพ ไม่ปลอดภัย เช่น ฉีกขาด เสื่อมสภาพ หรือชำรุด
5) สายช่วยชีวิตที่ใช้ปฏิบัติงาน มีเงื่อนหรือปม
6) จุดยึดเกี่ยว ที่ติดกับโครงสร้างไม่แข็งแรง เมื่อปฏิบัติงานอาจทำให้จุดยึดเกี่ยว หลุดออกจากโครงสร้าง ส่งผลให้สายช่วยชีวิตหลุดจากระบบ
7) ขาดการตรวจสอบ อุปกรณ์เชื่อมต่อทั้งระบบ เช่น สายช่วยชีวิตเชือกนิรภัย จุดยึดเกี่ยว เป็นต้น
8) จัดเก็บสายช่วยชีวิตในสถานที่ ที่ไม่เหมาะสม เช่น ใกล้กับแหล่งความร้อน หรือ สารเคมี เป็นต้น
ข้อตกลงและเงื่อนไข เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น