อบรมการทํางานบนที่สูง

หน้าที่และความรับผิดชอบใน การทำงานบนที่สูง

หน้าที่และความรับผิดชอบใน การทำงานบนที่สูง

การทำงานบนที่สูง หรือ การปฏิบัติงานบนที่สูง ต้องกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ช่วยเหลือ ดังนี้

การบริหารจัดการใน การทำงานบนที่สูง

การบริหารจัดการในการทำงานบนที่สูง ใช้แนวทางในการปฏิบัติงาน ที่สอดคล้องกับกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐาน ในการบริหาร การจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ในการทำงาน แก่ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง โดยใช้แนวทางตามมาตรฐานสากล ที่เป็นที่ยอมรับ มาจัดทำเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้นายจ้าง และผู้ปฎิบัติงาน ทราบถึงอันตราย และปัจจัย ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ในการทำงานบนที่สูง การตรวจสุขภาพ ตามปัจจัยเสี่ยง และให้มีการกำหนด หน้าที่ และความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติงานบนที่สูง เช่น ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ช่วยเหลือ เป็นต้น พร้อมทั้ง ให้บุคลากร เหล่านี้ ร่วมวางแผน และกำหนดมาตรการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานสำหรับการปฏิบัติงานบนที่สูง โดยใช้แนวคิด การป้องกัน และยับยั้งการตกจากที่สูง ตามลำดับ ของมาตรการ ควบคุม ป้องกัน การตกจากที่สูง ตามมาตรฐาน การจัดการ ความปลอดภัย ในการทำงานบนที่สูงในการกำหนด ระเบียบปฏิบัติงาน เพื่อจัดการความเสี่ยง และควบคุมอันตราย ตามมาตรฐานการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมไปถึง การพิจารณา เลือกใช้ ระบบป้องกัน การตกจากที่สูง การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน การตรวจสอบ การบำรุงรักษา และการช่วยเหลือ ในกรณีฉุกเฉิน อย่างเป็นระบบ การควบคุมเชิงบริหารจัดการ เป็นการนำ การบริหาร จัดการมาใช้ในการควบคุม ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ เช่น ระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัย การฝึกอบรม การกำหนดพื้นที่ควบคุม ระบบการขออนุญาตทำงาน การจัดระบบ และลำดับของงาน ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติงาน อย่างปลอดภัย การบันทึก และควบคุมเอกสาร เป็นต้น  

ผู้อนุญาต การทำงานบนที่สูง

หน้าที่และความรับผิดชอบใน การทำงานบนที่สูง

ผู้อนุญาต มีหน้าที่ในการออกและยกเลิกไบอนุญาตการทำงานบนที่สูง

ผู้ควบคุมงาน ทำงานบนที่สูง

หน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานบนที่สูง

ผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่จัดการ กำหนดมาตรการควบคุม ป้องกันอันตรายจากการทำงานบนที่สูง
เสนอ ต่อผู้อนุญาตเพื่อพิจารณาอนุญาต และควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ
ความปลอดภัยที่กำหนด รวมทั้งจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานเสนอต่อผู้อนุญาต

ผู้ปฏิบัติงาน การทำงานบนที่สูง

หน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานบนที่สูง
ผู้ปฏิบัติงาน มีหน้าที่ ปฏิบัติตามขั้นตอน และวิธีปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ที่กำหนด ต้องผ่านการฝึก อบรมการทำงานบนที่สูง มีใบรับรองแพทย์ตามปัจจัยเสี่ยงที่ตรวจโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์  

ผู้ช่วยเหลือ การทำงานบนที่สูง

หน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานบนที่สูง

ผู้ช่วยเหลือ มีหน้าที่ ช่วยเหลือ โนกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในการทำงานบนที่สูง เช่น หมดสติ พลัดตก
หรือได้รับบาตเจ็บจากการทำงานบนที่สูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้ช่วยเหลือ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการช่วยเหลือที่มี
ประสิทธิภาพ

ระเบียบปฏิบัติงานเพื่อควบคุมอันตราย

การกำหนดระเบียบปฏิบัติงานใน การทำงานบนที่สูง

นายจ้าง ผู้ควบคุมงาน ผู้ปฏิบัติงาน ผู้อนุญาต ผู้ช่วยเหลือ และบุคคล ที่เกี่ยวข้องในงานการทำงานบนที่สูงควรมีการปรึกษาหารือ เพื่อกำหนดระเบียบปฏิบัติงานในการทำงานบนที่สูงในประเด็น ดังต่อไปนี้

  • กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง
  • การออกแบบ และวางแผนด้านความปลอดภัยสำหรับการทำงานบนที่สูง
  • การประมินความเสี่ยง และควบคุมความเสี่ยงในการทำงานบนที่สูง
  • การกำหนดวิธีการทำงาน อย่างปลอดภัย และให้มีการปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำงานที่เหมาะสม
  • มาตรการป้องกันการตกจากที่สูง
  • การตรวจติตตามผลการดำเนินงาน ตามมาตรการป้องกันการตกจากที่สูง
  • การจัตเตรียมข้อมูล คำแนะนำ และการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยใน การทำงานบนที่สูง
  • มีแผน และขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อตอบโต้เหตุฉุกเฉินของการทำงานบนที่สูง

การตรวจสุขภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง

ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงเป็นประจำควรมีการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงของงานก่อนเริ่มทำงาน โดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้นสุขภาพ ซึ่งครอบคลุมถึงการตรวจสุขภาพทั่วไป การมองเห็น การได้ยิน ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ ดัขนีมวลกาย การทรงตัว และความ
ยืดหยุ่นของร่างกาย ความผิดปกติทางระบบประสาทรวมไปถึงโรคสมชัก โรคประจำตัว รวมไปถึงภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานบนที่สูง เช่น โรคความตันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ความผิดปกติของการนอนหลับ โรคทางระบบหัวใจ และหลอดเลือต ความทนทานของระบนหัวไจ และการไหลเวียนโลหิต การหายใจ และการ
ใช้ยา เป็นต้น

การออกแบบเพื่อป้องกันและยับยั้งการตกจากที่สูง

การขจัดหรือลดความเสี่ยงของอันตรายจากการตกจากที่สูง ควรเริ่มตันตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และต้องมั่นใจ ว่ามีการชี้บ่งอันตราย จากการออกแบบ ซึ่งผู้ออกแบบควรมีการเสนอแนะ มาตรการป้องกันประกอบแบบแปลนแก้ไข เพื่อขจัดอันตรายเหล่านั้น หรือลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกรณีที่มีการออกแบน ผู้ออกแบบควร

มาตรการป้องกันการตกจากที่สูง

กำหนดมาตรการป้องกัน เป็นลายลักษณ์อักษร เสนอต่อนายจ้าง มาตรการดังกล่าว ควรประกอบด้วย 

  • รายละเอียดของอันตราย 
  • ลักษณะโครงสร้างหรือวัสดุที่อันตราย 
  • ระเบียบหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน 
  • หากความเสี่ยงของการตกจากที่สูง ยังคงมีอยู่ควรกำหนดให้มีการแก้ไขแบบและกำหนดมาตรการป้องกันเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

การวางแผนเพื่อป้องกันและยับยั้งการตกจากที่สูง

ผู้ควบคุมงานต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

  • กำหนดแผนดำเนินงานบนที่สูง โดยให้ครอบคลุมถึงผู้รับเหมาช่วง หรือผู้เกี่ยวข้อง
  • จัดให้มีการประชุมความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  • นำข้อมูลการประเมินความเสี่ยง มากำหนดมาตรการควบคุม ป้องกันการตกจากที่สูง รวมถึงจัดเตรียมวิธีการทำงานอย่างปลอดภัย
  • กำหนดขั้นตอน และวิธีการทำงาน สำหรับผู้รับเหมาช่วง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • จัดการฝึกอบรม เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน บนที่สูง ให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคนอย่างเหมาะสม
  • จัดให้มีการตรวจสอบ และทบทวนมาตรการป้องกันการตกจากที่สูง เป็นประจำก่อนเริ่มงาน 

การขี้บ่งอันตรายจากการตกจากที่สูง

  • แหล่งกำเนิดของอันตราย เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ไฟฟ้า วัตถุดิบ วัสดุ สถานที่ทำงาน เป็นต้น
  • บุคคล และอวัยวะ ส่วนที่ใด้รับอันตราย รวมถึงสิ่งของ หรือทรัพย์สินที่ ได้รับความเสียหาย
  • ลักษณะของอันตราย เช่น การตกจากที่สูง การลื่น หกล้ม เป็นต้น
  • การชี้บ่งอันตราย มีหลายวิธี อาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือหลายวิธีก็ได้ ขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสม ตามลักษณะการทำงานบนที่สูง หรือลักษณะความเสี่ยง
    ของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เข่น วิธี Job safety Analysis: JSA วิธี Checkist วิธี What If เป็นต้น

หากคุณกำลังมองหาสถาบัน อบรม การทำงานบนที่สูง
โทร 033-166-121 หรือ คลิกที่นี่!

ข้อตกลงและเงื่อนไข เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น

รับทราบ